แก้ปัญหาลูกติดเกมออนไลน์ ตามสไตล์พ่อแม่เข้าใจลูก

เป็นห่วงลูกติดเกม แต่ไม่อยากให้ลูกต่อต้านทำยังไงดี

เกมเป็นกิจกรรมผ่อนคลายที่เสพติดได้ง่ายมาก เพราะออกแบบให้สามารถใช้เวลาทั้งวันได้ในเกม แล้วยิ่งเป็นเกมออนไลน์ที่มีผู้คนหลากหลายอยู่ในเกม ร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ยิ่งเพิ่มความสนุกในการเล่นเกมให้มากยิ่งขึ้น และดึงเวลาให้ผู้เล่นอยู่หน้าจอนานขึ้น ทำให้ผู้ปกครองเกิดความเป็นห่วงหากลูกติดเกมมากจนเกินไป

พฤติกรรมการติดเกมที่ควรสังเกต

ข้อมูลจาก Thai PBS ระบุว่าอาการติดเกมของเด็กนั้นสามารถสังเกตได้จาก 3 พฤติกรรม คือ

  • เล่นเกมติดต่อกันหลายชั่วโมง

เป็นพฤติกรรมที่อยู่หน้าจอคอมนาน ๆ เพื่อเล่นเกม ซึ่งเด็กที่ติดเกมหลายคนจะเล่นเกมติดต่อกันทั้งวันทั้งคืน ใช้เวลานอนเพียงแค่ประมาณ 4 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

  • สูญเสียการควบคุมตัวเอง

การควบคุมตัวเองในที่นี้คือการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง เช่น การไม่ยอมเรียนหนังสือ การไม่ยอมทำการบ้าน การไม่ช่วยเหลือกิจการที่บ้าน

  • สูญเสียการควบคุมชีวิตตัวเอง

การควบคุมชีวิตตัวเอง คือ พฤติกรรมที่ส่งผลต่อการมีชีวิต เช่น การพักผ่อน และการรับประทานอาหาร เด็กที่ติดเกมจะพักผ่อนน้อยและรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือไม่รับประทานเลย

ผู้ปกครองที่เห็นพฤติกรรมเหล่านี้มักจะเกิดความเป็นห่วง และพยายามหามาตรการในการป้องกันลูกไม่ให้เล่นเกม แต่หลายครั้งกลับสร้างความไม่เข้าใจในครอบครัว เพราะขาดการให้เหตุผลที่ชัดเจนจนเด็กคิดว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจ

คนเล่นเกม
ความเข้าใจในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาเด็กติดเกม

การป้องกันการติดเกม

ทางออกที่ดีที่สุดของการแก้ปัญหาเด็กติดเกมคือการป้องกันตั้งแต่ยังเนิ่น ๆ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการห้ามเล่นเกมโดยเด็ดขาด แต่จะต้องมาพร้อมวินัย สามารถปฎิบัติตามแนวทางต่าง ๆ ดังนี้

  • กำหนดเวลาเล่นเกมให้เหมาะสม

วิธีการที่ได้รับการแนะนำมากที่สุด คือ การกำหนดเวลาเล่นเกม โดยปกติผู้ปกครองควรจำกัดการเล่นเกมให้ไม่เกินวันละ 4 – 6 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นตามความเหมาะสม เน้นให้ลูกปลีกเวลาออกมากินข้าวและใช้เวลากับครอบครัวในช่วงเวลาหนึ่ง

  • พยายามพูดคุยกับลูกเรื่องเกม

ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ การพูดคุยเกี่ยวกับเกมที่เล่น ความสนุกที่ได้รับ เพื่อนในเกมต่าง ๆ จะช่วยให้ลูกไม่รู้สึกอึดอัดที่จะพูดคุยกับพ่อแม่ และพ่อแม่ก็จะเข้าใจมุมมองในเรื่องเกมของลูก เด็กบางคนอ่จจะต่อยอดไปเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตได้เลยถ้าได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ

  • หากเป็นไปได้ให้ลองเล่นเกมกับลูก

การลองเล่นเกมเดียวกันดูเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ลูกจะรู้สึกเหมือนมีเพื่อนที่พูดคุยได้ในชีวิตจริง และพ่อแม่ก็จะเป็นตัวอย่างในการแบ่งเวลาเล่นเกมและเวลาใช้ชีวิตให้ลูก เป็นบทเรียนที่เห็นภาพมากกว่าการสอนเฉย ๆ

  • หากิจกรรมทำร่วมกันในครอบครัว

ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หรือวันว่างของครอบครัวควรมีกิจกรรมทำร่วมกันที่ไม่ใช่เกมออนไลน์ เช่น ทำอาหารรับประทานในครอบครัว หรือจัดทริปเล็ก ๆ สำหรับไปเที่ยว เพื่อใช้ชีวิตให้ห่างจากเกมบ้าง

ประเด็นสำคัญในการป้องกันการติดเกมของลูก คือ ความเข้าใจ ผู้ปกครองต้องมีทัศนคติที่ดีและมองเห็นความเป็นจริงก่อนว่าเกมเป็นสิ่งที่เสพติดได้ง่าย การจะบังคับให้เลิกเล่นเกมหรือจำกัดเวลาการเล่นเลย ทำได้ยาก และลูกจะต่อต้าน การสร้างความเข้าใจแก่ลูกจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *.

*
*
You may use these <abbr title="HyperText Markup Language">HTML</abbr> tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>